เรียนพิเศษ
เรียนพิเศษตัวต่อตัว
เรียนพิเศษตัวต่อตัว
เรียนพิเศษที่บ้าน





 
คอร์สติวสอบ GAT, PAT

Admission  คือ ระบบกลางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (CentraI University Admissions System : CUAS) หรือระบบแอดมิสชั่นส์กลาง ที่ใช้ทำการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา 2549 แทนระบบเอ็นทรานซ์
ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นเกณฑ์
ในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษา
ในมหาวิทยาลัย ที่ประชุมอธิการบดีแห่ง
ประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบ
และค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษา
ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลาง
(Admissions)  ประกอบด้วย

1. GPAX 20%
2. O-NET 30%
3. GAT 10-50%
4. PAT 0-40%
รวม 100 %


1.
O-NET (Ordinary National Education Test) หรือการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ในตอนนี้จะพูดถึงการสอบ O-NET ในระดับชั้น ม.6 เพียงอย่างเดียว แนวคิดของ O-NET คือ การวัดผลของโรงเรียนแต่ละโรงเรียนว่า ได้สอนนักเรียนของตัวเองตามหลักสูตรกระทรวงขนาดไหน ข้อสอบ O-NET นี้จะเป็นข้อสอบง่ายๆที่วัดเฉพาะพื้นฐานจริงๆเท่านั้น

2.
GAT  (Genetal Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า  การสอบความถนัดทั่วไป ซึ่งจะเน้นเนื้อหาทางด้าน การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ข้อสอบ GAT นี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าความยาก

3.
PAT (Professional Aptitude Test) หรือมีชื่อเป็นภาษาไทยสั้นๆว่า การสอบความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ เป็นข้อสอบที่ยากที่สุดในสามตัวที่พูดถึง วิชาเฉพาะด้านที่มีสอบคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรม พื้นฐานสถาปัตยกรรม พื้นฐานความเป็นครู และวิชาด้านภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

ความถนัดทั่วไป (GAT : General Aptitude Test) 
คือ การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ
1. เนื้อหา 
     – การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
     – การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ
     – ข้อสอบปรนัย และอัตนัยที่ตอบแบบปรนัย
     – ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair 
     – เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก 

ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ
 (PAT :Professional and Academic Aptitude Test)
คือ ความรู้ที่เป็นพื้นฐานที่จะเรียนต่อ กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆให้ประสบความสำเร็จ มี 7 ประเภท
- PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 
กลุ่มคณะที่ใช้ เช่น กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์กายภาพ กลุ่มเกษตร-วนศาสตร์ กลุ่มบริหาร-บัญชี เศรษฐศาสตร์ กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์ (ยื่นคะแนนรูปแบบที่1)
- PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
คณะที่ใช้ เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
- PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
มีคณะเดียวที่ใช้ คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์
- PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ
คณะที่ใช้เช่นกลุ่มการโรงแรมและท่องเที่ยว(ยื่นคะแนนรูปแบบที่2) กลุ่มมนุษยฯ-อักษรฯ-สังคมศาสตร์(ยื่นคะแนนพื้นฐานศิลป์ รูปแบบ2)
รายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมด  http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/11/c785782718d06775b1b87afcc8d1dc2e.pdf

เกณฑ์ Admisisons

กลุ่มที่ 1 วิทยาศาสตร์สุขภาพ 
คณะสัตวแพทยศาสตร์ สหเวชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ วิทยาศาสตร์การกีฬา GAT 20% PAT2 30%
คณะเภสัชศาสตร์ ,GAT 10% และPAT2 40%
คณะทันตแพทย์                เดิม   GAT 30%   PAT2    20%   ใช้เป็น  GAT 20%  PAT2 20% และ PAT1 10%
คณะพยาบาลศาสตร์           เดิม   GAT 30%   PAT2    20%   ใช้เป็น GAT 20%   PAT2 30%


กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ปรับสาขา วิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ
  GAT 10% ,PAT1  10% และPAT2 30%
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ  GAT 10% , PAT1 20% และ PAT2 20%


กลุ่มที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์   ใช้  GAT 15%, PAT2 15% , PAT 3 20%


กลุ่มที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์    ใช้ GAT 10%  PAT4  40%


กลุ่มที่ 5 คณะเกษตรศาสตร์ ปรับสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตร วนศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร 
 GAT 10% PAT1 10% และPAT2 30%


กลุ่มที่ 6 คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี เศรษฐศาสตร์ การท่องเทียว
- พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์  GAT 30% PAT1  20%
- ท่องเทียว รูปแบบ 1  GAT 50 %
- ท่องเทียว รูปแบบ 2  GAT 40%   PAT7   10%


กลุ่มที่ 7 คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ พลศึกษา สุขภาพ 
รูปแบบที่ 1 GPAX 20%, O-NET 30% ,GAT 20% และPAT5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% ,GAT 10% และPAT5 20%
และต้องเลือกสอบ PAT 1/2/3/4/6/7 วิชาใดก็ได้ 1 วิชา 20%


กลุ่มที่ 8 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปรับ สาขา วิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ดุริยางศิลป์ นาฎศิลป์ ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ และศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม 
GPAX 20% , O-NET 30%, GAT 10% และเลือกสอบPAT4 หรือ 6 เพียง 1 วิชา 40%


กลุ่มที่ 9 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขา นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ อักษรศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ มนุษยศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ปรับพื้นฐานวิทยาศาสตร์   GAT 30% และPAT1 20%
พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 ไม่มีการปรับเปลี่ยน  ( ใช้ GAT 50% )
พื้นฐานศิลปศาสตร์รูปแบบที่  2  GAT 30% และPAT7 20%



สอบรับตรงจุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตร มหิดล มศว
.
- ข้อมูลการสอบรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://admission2.atc.chula.ac.th/
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://registrar.ku.ac.th/direct-admission
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://web.reg.tu.ac.th/registrar/home.asp
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.mahidol.ac.th/quota2013/1.html
- ข้อมูลการสอบรับตรงมหาวิทยาลัย มศว ประสานมิตร
http://admission.swu.ac.th/

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 084-606-4749
คอร์สเปิดสอน พิเศษที่บ้าน
รับสอนพิเศษประถม
รับสอนพิเศษตัวต่อตัว
สอนพิเศษ
สอนพิเศษประถม
ติว gat pat
ติว o-net
สอนพิเศษภาษาอังกฤษ
เรียนพิเศษ
เรียนพิเศษที่บ้าน


KUHomeTutor.com